หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระพุทธบาทสี่รอย

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม
รอยพระพุทธบาท บนยอดเขาดีสลัก @ อู่ทอง สุพรรณบุรี

ในภาพอาจจะมี 1 คน, สถานที่กลางแจ้ง และ อาหาร
พระพุทธบาทสี่รอย
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


อนุโมทนาบุญกับ อ. Manoonsak Radchapo และพี่วัลย์ ในการเดินทางไปแสวงบุญ ที่รอยพระพุทธบาทเขาพลวง จ.จันทบุรี หรือ ตอนหลังพ่อท่านเขียน วัดกระทิง ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า เขาคิชฌกูฏ เมื่อ ปี พ.ศ. 2513
และสืบเนื่องจากที่ ท่าน อ. Kang Vol ได้นำเรื่องรอยพระพุทธบาท ที่อินเดีย มาลงใน facebook ของอาจารย์ จึงเป็นเหตุจูงใจ ให้ผมได้มา โพสต์ ในค่ำคืนนี้...
จากโพสต์ของ อ. Kang Vol ที่ว่า...
พระพุทธบาท อายุประมาณ ๑,๗๐๐-๑,๘๐๐ ปี
จากนาคารชุนโกณฑะ รัฐอานธรประเทศ อินเดีย
ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองเดลี อินเดีย
-
ข้าพเจ้าสนใจสัญลักษณ์มงคลบนรอยพระพุทธบาทอันเก่าแก่นี้ ว่าแตกต่างกับที่พบในแถวเอเชียอาคเนย์อย่างไร
-
เพราะคัมภีร์ที่อธิบายถึงสัญลักษณ์บนรอยพระพุทธบาท หรือพุทธปาทลักขณะที่เราพบในปัจจุบัน เป็นฉบับใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี จารปี พ.ศ. 2292 ซึ่งก็อาจจะมีมาก่อนหน้า พ.ศ.ที่ปรากฏ (เพราะฉบับนี้น่าจะเป็นฉบับคัดลอกต่อ) แต่ก็คงแต่งหลังพระพุทธบาทนี้เป็นพันปี
....
ซึ่ง ผมจึงได้ไปแสดงความเห็น ไว้ โดยแนบภาพถ่ายรอยพระพุทโธบาทสี่รอย ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบความเห็นไว้ ว่า.."เป็นศิลปที่เกิดขึ้น ไม่ใช่พุทธาภินิหาร...
"
และ แสดงความเห็น ต่อไปอีกว่า...หรือถ้าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ก็สุดเลิศล้ำ เหนือกว่า อินเดีย-ศรีลังกา...เช่น รอยพระพุทธบาท บนยอดเขาดีสลัก@อู่ทอง สุพรรณบุรี ประกอบด้วยลาย 108..ที่ ทั้งอินเดียกับศรีลังกา กาไม่ได้ เพราะเขาไม่รู้จักคัมภีร์พุทธปาทลักขณ์ ...นั่นเอง
(โดยมีรูปรอยพระพุทธบาท ที่วัดเขาดีสลัก@อู่ทอง สุพรรณบุรี ประกอบความเห็น)
และให้ความเห็นต่อไปว่า..ภาพลายมงคล 108 นี้..และภาพรอยพระพุทธบาท วัดเขาดีสลัก นี้ ผมได้นำมาเป็นแบบปกหนังสือ ที่แต่งเป็นนิทานอิงเรื่องจริงชื่อ "อนินทิตปุระ อรุณรุ่งแห่งอารยธรรม" เมื่อปี 2545 หรือเมื่อ 13 ปีมาแล้ว...ก่อนที่จะย้อนอดีต..และนำมาสู่การค้นพบ "ความลับพระพุทธเจ้า" ในช่วงปลายปี 2545 ต่อ ต้นปี 2546
ก่อนจะปิดประเด็นที่ความเห็นสุดท้ายว่า..แต่ทว่า...ลายมงคล 108 ที่ผมอัญเชิญไปไว้ที่หัวกระดาษ แต่ละหน้า ทั้ง 108 หน้านั้น..ผมเอาต้นแบบจาก ลายมงคลที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดให้ลอกลายรอยพระพุทธบาท ส่งไปให้กษัตริยประเทศศรีลังกา ที่ไม่รู้เรื่องศาสนา เท่าใด พูดถึงพระพุทธเจ้าปางทรงเครื่อง ดังที่เห็นที่วัดในกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่รู้จัก ต้องคัดคัมภีร์ต่างๆ ส่งไปทางเรือ เที่ยวนั้น 97 คัมภีร์ รวมทั้งคัมภีร์ว่าด้วยประวัติพระพุทธสิหิงค์ ที่สร้างที่ลังกาทวีป...แต่คนศรีลังกาไม่เคยรู้จัก!!!
ภายหลังจึงได้ค้นพบ รอยพระพุทธบาทฝังมุก ที่เป็นต้นแบบ ที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ให้ช่างหลวงทำขึ้น แล้วให้อัญเชิญไปถวายที่ พระแท่นดงรัง สถานที่ปรินิพพาน ที่ จ.กาญจนบุรี นั่นเอง...โดยมีการค้นพบโดยบังเอิญเมื่อปี พ.ศ. 2537

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น