หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระพุทธเจ้าเปิดโลก

  • วันนี้เป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน “พระพุทธเจ้าเปิดโลก” เวียนมาบรรจบ อีกวาระหนึ่ง
  • ถัดจากวันออกพรรษา ในพุทธพรรษาที่ ๗ นั้น มีเหตุการณ์พิเศษ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ไปประทับจำพรรษา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทพ เทวดา จนครบ ไตรมาส ๓ เดือน 
  • หลังจากพระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว พระพุทธองค์จึงได้เสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ ที่เมืองสังกัสกะ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ดังในพระอรรถกถา ว่า...
  • “พระศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์กำราบเหล่าเดียรถีย์ มิใช่เป็นเรื่องทั่วไปกับสาวก ทรงทราบความที่ชนเป็นอันมากพากันเลื่อมใส เสด็จลงประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ทรงแสดงธรรม ฝูงปาณชาติ ๒๐ โกฏิพากันดื่มน้ำอมฤต. 
  • ต่อจากนั้นทรงพระดำริว่า ก็พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงกระทำปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไป ณ ที่ไหน ทรงทราบว่าเสด็จไปสู่ดาวดึงส์พิภพ 
  • จึงเสด็จลุกจากพระพุทธอาสน์ ย่างพระบาทเบื้องขวาเหยียบเขายุคนธร พระบาทซ้ายเหยียบยอดเขาสิเนรุ แล้วเสด็จเข้าจำพรรษาเหนือบัณฑุกัมพลศิลา โคนปาริฉัตตกพฤกษ์ ภายในระยะกาล ๓ เดือน ทรงแสดงพระอภิธรรมกถาแก่ฝูงเทวดา. 
  • ฝ่ายบริษัท เมื่อไม่ทราบสถานที่พระศาสดาเสด็จไป คิดว่าเห็นพระองค์แล้วจักพากันไป เลยพากันอยู่ตรงนั้นเองตลอดไตรมาส. ครั้นใกล้ถึงปวารณา พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าจึงไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า 
  • ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามว่า ก็เดียวนี้สารีบุตรอยู่ที่ไหน. 
  • กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เธออยู่ที่นครสังกัสสะกับพวกภิกษุ ๕๐๐ รูปที่พากันบวชเพราะเลื่อมใสในพระยมกปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า. 
  • ตรัสว่า โมคคัลลานะในวันที่เจ็ดแต่วันนี้ เราจักลงที่ประตูนครสังกัสสะ. ฝูงชนที่ต้องการจะเห็นตถาคต จงชุมนุมกันที่นครสังกัสสะเถิด. 
  • พระเถรเจ้าทูลรับสั่งว่า สาธุ แล้วมาบอกแก่บริษัท ช่วยให้บริษัททั้งสิ้นลุถึงนครสังกัสสะ อยู่ห่างนครสาวัตถี ๓๐ โยชน์ โดยเวลาครู่เดียวเท่านั้นเอง. 
  • พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสแจ้งแก่ท้าวสักกะว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปสู่มนุษยโลก. 
  • ท้าวสักกะตรัสเรียกวิษณุกรรมเทพบุตร มาตรัสว่า เธอจงกระทำบันไดเพื่อพระทศพลเสด็จมนุษยโลกเถิด. วิษณุกรรมเทพบุตรนั้นสร้างเป็นบันไดสามอัน 
  • คือท่ามกลางเป็นบันไดแก้วมณี ข้างหนึ่งเป็นบันไดเงิน ข้างหนึ่งเป็นบันไดทอง ทุกอันหัวบันไดอยู่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดจรดประตูนครสังกัสสะแวดล้อมด้วยไพทีล้วนแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ. 
  • พระศาสดาทรงกระทำพระปาฏิหาริย์เปิดโลก เสด็จลงทางบันไดแก้วมณีอันมี ณ ท่ามกลาง. ท้าวสักกะทรงเชิญบาตรจีวร ท้าวสุยามทรงเชิญวาลวิชนี ท้าวสหัมบดีพรหมทรงเชิญฉัตร. 
  • เทพดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชาด้วยของหอมและมาลาอันเป็นทิพย์ 
  • พอพระศาสดาเสด็จประทับ ณ เชิงบันได พระสารีบุตรเถรเจ้าถวายบังคมเป็นประถมทีเดียว บริษัทที่เหลือพากันถวายบังคมที่หลัง. 
  • พระศาสดาทรงดำริในสมาคมนั้นว่า โมคคัลลานะ ปรากฏว่ามีฤทธิ์ อุบาลีปรากฏว่าทรงพระวินัย แต่ปัญญาคุณของสารีบุตรยังไม่ปรากฏเลย. 
  • ได้ยินว่า ยกเว้นเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ผู้อื่นที่จะได้นามว่ามีปัญญาเสมอเหมือนเธอไม่มีเลย เราต้องกระทำปัญญาคุณของเธอให้ปรากฏไว้ แล้วทรงตั้งต้นถามปัญหาของปุถุชนก่อน. ปุถุชนพวกเดียวพากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น. 
  • ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยแห่งเหล่าพระโสดาบัน. เหล่าโสดาบันเท่านั้นพากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น พวกปุถุชนไม่รู้เลย. 
  • ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยพระสกทาคามี พระอนาคามี พระขีณาสพ และพระมหาสาวกโดยลำดับ. ท่านที่ดำรงในชั้นต่ำๆ ไม่ทราบปัญญาแม้นั้นเลย ท่านที่ดำรงในภูมิสูงๆ เท่านั้นพากันกราบทูลแก้. 
  • แม้ถึงปัญหาในวิสัยแห่งอัครสาวก พระอัครสาวกกราบทูลแก้ได้ พวกอื่นไม่รู้เลย 
  • ต่อจากนั้นตรัสถามปัญหาในวิสัยแห่งพระสารีบุตรเถรเจ้า พระเถรเจ้าองค์เดียวกราบทูลแก้ได้ พวกอื่นไม่รู้เลย 
  • ฝูงคนพากันถามว่า พระเถรเจ้าที่กราบทูลกับพระศาสดานั้น มีนามว่าอะไร พอฟังว่า ท่านเป็นธรรมเสนาบดีมีนามว่า สารีบุตรเถรเจ้า ต่างกล่าวว่า โอ้ โฮ มีปัญญามากจริงๆ ตั้งแต่บัดนั้นคุณคือปัญญาอันมากของพระเถรเจ้าก็ได้ปรากฏ ไปในกลุ่มเทพยดาและมนุษย์ 
  • ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัยกะท่านว่า 
  • ชนเหล่าใดเล่ามีธรรมอันกำหนดได้แล้วสิ ชนเหล่าใดเล่าที่ยังต้องศึกษา มีจำนวนมากในธรรมวินัยนี้ 
  • ดูก่อนท่านผู้ไร้ทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตัวรอด ถูกเราถาม เชิญบอกความเป็นไปแห่งชนเหล่านั้นแก่เราดังนี้ 
  • แล้วตรัสว่า สารีบุตร เธอพึงเห็นความแห่งภาษิตโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างไรเล่าหนอ. พระเถรเจ้าตรวจดูปัญหาแล้ว เห็นว่า พระศาสดาตรัสถามปฏิปทาอันเป็นทางบรรลุแห่งพระเสขะและพระอเสขะกะเรา เลยหมดสงสัย คงกังขาในพระอัธยาศัยว่า อันปฏิปทาทางบรรลุอาจกล่าวแก้ได้ โดยมุขเป็นอันมากด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น เมื่อเรากราบทูลแก้โดยอาการไรเล่า ถึงจักสามารถยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาได้. 
  • พระศาสดาทรงทราบว่า สารีบุตรหมดสงสัยในข้อปัญหา แต่ยังกังขาในอัธยาศัยของเรา แม้นว่าเรายังไม่ให้นัย เธอไม่อาจกล่าวแก้ได้ จักต้องให้นัยแก่เธอ 
  • เมื่อจะประทานนัย ตรัสว่า สารีบุตร เธอจักเล็งเห็นภูตนี้. 
  • ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า เมื่อสารีบุตรจักถืออัธยาศัยของเรากล่าวแก้ ต้องแก้ด้วยอำนาจขันธ์. พอทรงประทานนัยปัญหานั้นกระจ่างแก่พระเถระเจ้าตั้งร้อยนัยพันนัย. ท่านยึดตามนัยที่พระศาสดาประทาน กราบทูลแก้ปัญหาในพุทธวิสัยได้. 
  • พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่บริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ปาณชาติ ๓๐ โกฏิดื่มน้ำอมฤตแล้ว. 
  • พระศาสดาทรงส่งบริษัท แล้วเสด็จจาริกถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ 
  • วันรุ่งขึ้นเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว พวกภิกษุพากันแสดงวัตรเสร็จ เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.”
  • เมื่อท่านทั้งหลายได้ ทราบถึงความสำคัญของเมืองสังกัสสะ บ้างแล้ว คราวนี้ เรามาพิจารณาที่ตั้งของเมืองสังกัสสะ ที่ประเทศอินเดีย กันต่อไป ปัจจุบันนักโบราณคดี กำหนดให้ เมืองสังกัสสะ ในสมัยพุทธกาล อยู่ในแคว้นปัญจาละ ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออกและแคว้นกุรุรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเมืองหลวงชื่อหัสดินปุระ เมืองสังกัสสะ ปัจจุบันชาวอินเดีย เรียก สังกิสสะ Sankissa หรือ สัมกัสยะ Samkasya ในอดีตตั้งอยู่คู่กับเมือง กันยากุพชะ Kanyakubja ซึ่งปัจจุบันยังเป็นเมืองอยู่แต่ชื่อได้เปลี่ยนเป็นเมือง คานเน้าจ์ Kannauj ส่วนเมืองสังกัสสะได้ร้างไปเป็นซากปรักหักพังแล้ว ขึ้นอยู่กับเมือง Farrukhabad ห่างออกไปจากตัวเมืองไปประมาณ ๔๗ กิโลเมตร
  • หลายท่านอาจจะสงสัย และหลายท่านก็ไม่ได้สนใจว่า ในประเทศอินเดีย เขาค้นหา เมืองสังกัสสะ พบได้อย่างไร? ในเมื่อพระพุทธศาสนาได้สาบสูญหายไปจากดินแดนแห่งนี้มานานหลายร้อยปี ก่อนที่จะถึงยุคอังกฤษเข้ายึดครอง ขุดค้น และเขียนประวัติศาสตร์อินเดีย ขึ้นมาใหม่ โดยท่าน เซอร์ อเล็กซันเดอร์ คันนิ่งแฮม หรือ วินเซนต์ เอ. สมิท และ นักอินเดียวิทยาอีกหลายๆ ท่าน
  • เพื่อที่จะหาคำตอบในข้อสงสัยดังว่านั้น เราจะค่อยๆ มาสืบค้น หาคำตอบกันต่อไป โดยเบื้องแรกจะขออ้างความใน หนังสือ “อโศกมหาราช และข้อเขียนคนละเรื่องเดียวกัน” ของ อาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาศัย ซึ่งในบทที่ว่าด้วย “อินเดียสมัยพุทธกาล” ท่านอาจารย์ได้ อธิบาย เรื่อง แคว้นปัญจาละ มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า
  • “ตำนานของชาวพุทธทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายานระบุว่า หลังจากได้ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จไปทรงแสดงพระธรรมเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้เสด็จกลับสู่พื้นโลก ณ สถานที่มีชื่อว่า สังกัสสะ ซึ่งในสมัยพุทธกาลไม่พบหลักฐานแสดงแน่นอนว่าอยู่ ณ ที่ใด ต่อมาในยุคปัจจุบันได้มีผู้รู้โบราณคดีของอินเดีย เช่น SIR ALEXANDER CUNNINGHAM เป็นต้น ได้ค้นพบหลักฐานว่า สังกัสสะอยู่ในแคว้นปัญจาละ และปัจจุบันคือหมู่บ้านสังกิสสะ-วสันติปุระ ใน FARRUKHABAD ซึ่ง เป็นจังหวัดหนึ่งของรัฐอุตตรประเทศ”
  • จากหนังสือของท่านอาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาศัย ดังกล่าว เมืองสังกัสสะนี้ ถูกค้นพบโดย SIR ALEXANDER CUNNINGHAM ซึ่งจริงๆ เขาไม่ใช่นักโบราณคดี แต่ได้เรียนจบทางด้านวิศวกรรม เข้ามาที่ประเทศอินเดีย สมัยที่อังกฤษล่าอาณานิคม เพื่อล่าขุมทรัพย์ ค้นหาโบราณวัตถุของเก่า ไปขายต่อ ให้กับชาวยุโรปที่ชอบสะสมของเก่า ดังตัวอย่าง วัตถุโบราณ ที่ SIR ALEXANDER CUNNINGHAM ขนกลับไปขายต่อบ้าง สะสมไว้ประดับบ้านบ้าง
  • คำถามที่ต้องคิดต่อ ก็คือ แล้ว นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี เขาสามารถที่จะค้นหาที่ตั้งของ “เมืองสังกัสสะ” ในแผ่นดินประเทศอินเดียอันเวิ้งว้าง กว้างใหญ่ และไม่มีผู้ที่สืบทอดพระพุทธศาสนาแล้วนี้ได้อย่างไร คำตอบ ก็คือ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี จะใช้ ลายแทงสำคัญ คือ “บันทึกการเดินทางของหลวงจีนที่เคยเดินทางมายังชมพูทวีป” ซึ่ง หนึ่งในนั้น คือ บันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ที่เดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป ระหว่าง พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗ หรือ เมื่อประมาณ ๑,๖๐๐ ปีที่แล้ว ดังตัวอย่างหนังสือที่มี ผู้ได้แปลเป็นภาษาไทย ตามภาพปกหนังสือที่นำมาประกอบนี้
  • ซึ่ง มีผู้ที่เขียน แผนผังเส้นทางการเดินทาง ของหลวงจีนฟาเหียน จาก เมืองสังกัสสะ ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ กำหนดว่า อยู่ที่ เมือง SANKISSA จังหวัด FARRUKHABAD ไปยังเมืองสาวัตถี หรือ SRAVASTI ที่เราได้ไปค้นเจอมา ใน Google Map ดัง ภาพประกอบ
  • จากเส้นทางที่มี ผู้ทำไว้ ดังกล่าว เมื่อได้คำนวณหาระยะทาง โดย Google Map โดยกำหนดให้เป็น “เส้นทางเดินเท้า” จะพบว่า ระยะทาง ดังกล่าว คำนวณได้ ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร ดัง เส้นทางสีน้ำเงิน (เส้นล่าง) ในแผนที่ข้างล่างนี้ แต่ ถ้าให้ Google Map คำนวณ โดย กำหนด ต้นทางและปลายทาง ระหว่าง สังกัสสะ กับสาวัตถี และกำหนดการเดินทาง แบบ “เดินเท้า” และจะได้เส้นทาง ตาม เส้นทางสีขาว (เส้นบน) ซึ่งจะเป็นระยะทาง ประมาณ ๓๑๕ กิโลเมตร
  • อาจจะเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ท่านทั้งหลายที่ได้เคยเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศอินเดียและเนปาล อาจจะไม่เคยได้เคยอ่านบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ฉบับเต็ม จึงได้แต่ฟัง และเชื่อไปตามที่มีการเชื่อตามๆ กันมา หรือเชื่อตามที่มัคคุเทศก์เล่า โดยที่ไม่ได้สืบหาต้นตอหรือต้นเค้าของข้อมูล ไม่ได้ใช้หลักกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ จึงไม่รู้ว่า “ที่เขาว่า” นั้น “ถูกหรือผิด”
  • บันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน บันทึกไว้อย่างไร หากจะนำมาแสดงไว้ที่นี้ ก็จะเป็นเรื่องยืดยาว แต่จะขอคัดลอกมาแต่เพียง ตอนที่ กล่าวถึง ระยะทาง และทิศทางในการเดินทาง จากเมืองสังกัสสะ ถึง เมืองสาวัตถี เท่านั้น เรามาศึกษาบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
  • เริ่มต้นที่เมือง “สังกัสสะ-Sankasya” โดยหลวงจีนฟาเหียน ท่านได้เดินทางมาจาก เมือง Ma-t’aou-la ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มายังเมืองสังกัสสะ ดังในบันทึกว่า
  • From this they proceeded south-east for eighteen yojanas, and found themselves in a kingdom called Sankasya, at the place where Buddha came down, after ascending to the Trayastrimsas heaven, and there preaching for three months his Law for the benefit of his mother.
  • หลังจากพักอยู่ที่เมือง SANKASYA หลวงจีนเดินทางต่อไปทางตะวันออกเฉียงใต้ อีก ๗ โยชน์ ไปถึงเมือง 
  • Kanyakubja ดังในบันทึกว่า
  • Fa-hien stayed at the Dragon vihara till after the summer retreat, and then, travelling to the south-east for seven yojanas, he arrived at the city of Kanyakubja….
  • จาก Kanyakubja หลวงจีน ข้ามแม่น้ำ เพื่อเดินทางต่อลงไปทางทิศใต้ ๓ โยชน์ จะไปเจอ หมู่บ้าน ชื่อ A-le ดังในบันทึกว่า
  • “Having crossed the Ganges, and gone south for three yojanas, (the travellers) arrived at a village named A-le, containing places where Buddha preached the Law, where he sat, and where he walked, at all of which topes have been built.”
  • แล้วเดินทางต่อไป จากหมู่บ้าน A-le ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปอีก ๓ โยชน์ จะถึงอาณาจักร Sha-che ดังในบันทึกว่า
  • Going on from this to the south-east for three yojanas, they came to the great kingdom of Sha-che
  • หลังจากนั้น หลวงจีนเดินทางต่อไป ทางทิศใต้ อีก ๘ โยชน์ ก็มาถึงเมือง “สาวัตถี” ดังในบันทึกว่า
  • Going on from this to the south, for eight yojanas, (the travellers) came to the city of Sravasti.
  • จากบันทึกการเดินทางข้างต้นนี้ อยากจะให้ท่านทั้งหลายหลับตา นึกภาพจินตนาการด้วยตัวเองว่า จากบันทึกการเดินทางจาก สังกัสสะ ไป สาวัตถี ของหลวงจีนฟาเหียน ที่ท่านบันทึกไว้นั้น มีแต่ระบุว่าไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วก็ทิศใต้ แล้วก็ตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มี จุดใดเลย ที่ หลวงจีนบอกว่า ไปทิศเหนือ หรือ แม่แต่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • แต่ ทำไม จากเส้นทาง (จำลอง) จาริกการเดินทาง ที่มีผู้ทำไว้ใน Google Map จึงเดินทางไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ไปเรื่อยๆ แล้วก็ไปวก ขึ้นเหนือ ที่เมืองอโยธยา เพื่อเดินทางไปยังเมือง “สาวัตถี” มันเกิดอะไรขึ้น?
  • “เมืองสังกัสสะ ที่อินเดีย อยู่ผิดที่ หรือ เมืองสาวัตถี ในอินเดีย อยู่ผิดที่”
  • แต่ไม่ว่า ผิดที่หรือถูกที่ สิ่งที่ พบว่ามีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน และขัดไปจากพระอรรถกถา ก็คือ “ระยะทางระหว่างทั้งสองเมือง”
  • ในพระอรรถกถา บอกว่า “เมืองสังกัสสะ กับ เมืองสาวัตถี อยู่ห่างกัน ๓๐ โยชน์ หรือ ๔๘๐ กิโลเมตร” ดังที่ ได้ยก พระอรรถกถา มาอ้างไว้ตอนต้นแล้วนั้น
  • แต่โดยระยะทาง ที่คำนวณมาได้ จากเส้นทางที่มีผู้ได้ทำจำลองขึ้นมา ดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น จะได้ระยะทาง ๔๐๐-๔๕๐ กิโลเมตร และหากพิจารณาจาก เส้นทางที่ทางชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาลได้ทำจำลองขึ้นมา ซึ่งเป็นระยะทางที่ใกล้ที่สุด ที่จะสามารถเดินด้วยเท้าได้ จะได้ระยะทางเท่ากับ ๓๑๕ กิโลเมตร และในข้อเท็จจริง ก็คือ ถ้า ผู้คนจะเร่งเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองสังกัสสะในวันมหาปวารณาออกพรรษา ก็จะต้องเร่งรีบไปในเส้นทางที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด เพื่อให้ได้ไปอยู่ใกล้ๆ ตรงจุดที่พระพุทธองค์จะเสด็จลงมา เพราะในตำนานการตักบาตรเทโว บางที่ บอกว่า มีผู้คนเป็นเรือนหมื่น เรือนแสน ไปรอตักบาตร คนที่เข้าไม่ถึง ต้องใช้วิธี “โยน” เอา ดังนั้น ผู้คนสมัยนั้น คงไม่เดินอ้อมไป อ้อมมา จากเมืองสาวัตถี ไปเมืองสังกัสสะ เป็นแน่
  • ดังนั้น ระยะทางจากเมืองสาวัตถี ไปถึงเมือง สังกัสสะ ที่ใกล้ที่สุด และเดินทางให้ถึงเร็วที่สุด โดยไม่อ้อมไปอ้อมมา จึงต้องเป็น ๔๘๐ โยชน์ ตามที่ในพระอรรถกถาบันทึกไว้
  • ซึ่งก็คงจะมีหลายท่านหลายคนถามกลับมาว่า แล้วรู้มั๊ยว่า “สังกัสสะ” ที่แท้จริง อยู่ที่ไหน? ทั้งนี้อาจเพราะได้ติดตามอ่าน หนังสือ “ความลับพระพุทธเจ้า” มาก่อนนี้ ที่ได้ตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อล้มล้างความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า “พระพุทธศาสนามีจุดกำเนิดอยู่ที่อินเดีย” มาสู่ทฤษฎีใหม่ ที่กำลังรอการพิสูจน์ว่า “แท้ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนามีจุดกำเนิดอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน และ บ้านเมือง แว่นแคว้น ในสมัยพุทธกาล ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ใน ดินแดนที่เป็น ประเทศไทย และพม่า ในปัจจุบัน” ซึ่ง ไม่เว้น แม้แต่เมืองสังกัสสะ นี้ เช่นกัน
  • ดังนั้น “เรา” ในนามชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล จะได้นำเสนอ ข้อสมมติฐาน ถึงที่ตั้งของเมือง “สังกัสสะ” เพื่อให้ท่านที่สนใจใคร่รู้ ใคร่ศึกษา ต่อไปในภายหน้า ได้รับรู้เอาไว้ “แต่อย่าเพิ่งเชื่อ” เพราะ นี่ เป็นแต่เพียง การอาศัยข้อมูล การบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ซึ่งเรามั่นใจว่า ท่านไม่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย แต่ ได้เดินทางมายังประเทศแถบพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน มาใช้เป็นเครื่องมือ ในการสืบค้นหาที่ตั้ง เมือง “สังกัสสะ” จึงขอย้ำว่า นี่ ยังคงเป็นเพียง “ข้อสมมติฐาน” เท่านั้น
  • จากการศึกษา ค้นคว้า ก่อนหน้านี้ ของชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล ที่กำหนดให้ “เมืองสาวัตถี” ในสมัยพุทธกาล อยู่ที่ “เมืองหงสาวดี หรือ เมืองพะโค” ซึ่ง ในปัจจุบัน เรียกว่า “BAGO หรือ PEGU” ซึ่งอยู่ในประเทศพม่าปัจจุบัน ซึ่งคนไทย เราค่อนข้างจะคุ้นเคยกับเมืองนี้ดี ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนคนมอญนั้น เมืองนี้มีความสำคัญกับคนมอญมาก และอาจจะมากกว่า เมืองย่างกุ้ง เสียอีก
  • เพราะฉะนั้น หากเราตั้งหลักที่ “เมืองสาวัตถี ที่ พะโค-หงสาวดี” แล้ว ย้อนเส้นทางไปหาเมืองสังกัสสะ ตามที่หลวงจีนฟาเหียน ท่านได้บันทึกไว้ในการเดินทางของท่าน เมื่อ ๑,๖๐๐ ปีที่แล้ว จะพบว่า เราต้องย้อนขึ้นไปทางเหนือ และค่อนไปตามทางตะวันตกเฉียงเหนือ เพราะจากเมือง SANKASYA ท่านหลวงจีนฟาเหียนล่องมาทางตะวันออกเฉียงใต้ แล้วก็ลงค่อนมาทางใต้ นั่นเอง จากระยะทางรวมที่หลวงจีนเดินทาง จะได้ระยะทางรวม ๒๑ โยชน์ หรือ ๓๓๖ กิโลเมตร แต่ระยะทางนี้ ก็ยังไม่ตรงกับ ในพระอรรถกถา ที่ระบุไว้ ๓๐ โยชน์ หรือ ๔๘๐ กิโลเมตร ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนใด?
  • แต่ เราอาจค้นหาที่ตั้งของ “เมืองสังกัสสะ” ได้ โดยการใช้ข้อมูลระยะทางจากอรรถกถา ที่ระบุว่า เมือง “สังกัสสะ อยู่ห่างจาก สาวัตถี เท่ากับ ๓๐ โยชน์ หรือ ๔๘๐ กิโลเมตร” ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ก็อาจเป็นไปได้ ที่ว่า ในบันทึกอาจจะแปลตกหล่น ผิดพลาด หรือ หลวงจีนฟาเหียน ไม่ได้บันทึกระยะทางจากเมืองใดเมืองหนึ่งไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะย้อนไปดูต้นฉบับภาษาจีน แต่ในขณะนี้ คงต้องขออนุญาตละเรื่องนี้ไว้ก่อน
  • ซึ่ง หากเราจะเว้นเรื่องระยะทางการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียนไว้ก่อน โดยคำนึงถึงแต่เฉพาะเรื่องทิศทางแล้ว และใช้ระยะทางตามที่ ระบุอยู่ใน พระอรรถกถา ในการค้นหา สถานที่ ในระยะรัศมี ๔๘๐ กิโลเมตร จากเมือง “BAGO หรือ PEGU” ที่ ประเทศพม่า ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ หรือค่อนไปทางเหนือ ที่อาจจะมีร่องรอย หรือหลักฐานตกค้างสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ที่จะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ ที่พระพุทธองค์ ทรงเปิดสามโลก ให้ได้เห็นซึ่งกันและกัน ดังที่ในคัมภีร์ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า "วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีเลยสักคน" และในคัมภีร์ “ปฐมสมโพธิ” พรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า "ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด"
  • ดังนั้น สถานที่ตรงนี้ ละแวกบริเวณนี้ จะต้องมีอะไรหลงเหลือ ให้เราได้แกะรอยบ้าง เพราะ เมื่อตอนที่หลวงจีนฟาเหียน ท่านเดินทางมาที่เมือง SANKASYA นี้ ท่าน ได้บันทึกเรื่องราวไว้น่าสนใจ ตอนหนึ่ง ว่า
  • “As Buddha descended from his position aloft in the Trayastrimsas heaven, when he was coming down, there were made to appear three flights of precious steps. Buddha was on the middle flight, the steps of which were composed of the seven precious substances. The king of Brahma-loka also made a flight of silver steps appear on the right side, (where he was seen) attending with a white chowry in his hand. Sakra, Ruler of Devas, made (a flight of) steps of purple gold on the left side, (where he was seen) attending and holding an umbrella of the seven precious substances. An innumerable multitude of the devas followed Buddha in his descent. When he was come down, the three flights all disappeared in the ground, excepting seven steps, which continued to be visible. Afterwards king Asoka, wishing to know where their ends rested, sent men to dig and see. They went down to the yellow springs without reaching the bottom of the steps, and from this the king received an increase to his reverence and faith, and built a vihara over the steps, with a standing image, sixteen cubits in height, right over the middle flight. Behind the vihara he erected a stone pillar, about fifty cubits high, with a lion on the top of it. Let into the pillar, on each of its four sides, there is an image of Buddha, inside and out shining and transparent, and pure as it were of /lapis lazuli/.”
  • อาจจะยาวนิดหนึ่ง แต่สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ คงจะแปลไม่ยาก จึงขอแปลแบบเอาแต่ใจความสำคัญได้ ดังนี้ว่า
    • ๑. หลวงจีนฟาเหียนอธิบายว่า บันไดพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ไม่สามามารถมองเห็นได้ (Invisible) ยกเว้น ๗ ขั้น สุดท้าย ซึ่งสามารถมองเห็นได้ (visible) 
    • ๒. ในเวลาต่อมา “พระเจ้าอโศกมหาราช” ได้เสด็จมาที่นี่ และต้องการรู้ว่า ตีนบันได (ขออนุญาตใช้คำไทยๆ) สิ้นสุดอยู่ตรงไหน? เลยสั่งให้คนไปขุดดู แต่เมื่อขุดลงไปเจอ น้ำพุสีเหลือง (Yellow springs) จึงไม่สามารถขุดลงไปถึงขั้นสุดท้ายได้
  • ๓. พระเจ้าอโศกมหาราช จึงโปรดให้สร้าง “วิหารครอบขั้นบันได และ ตรงบันไดกลางสร้างพระพุทธปฏิมาสูง ๑๖ ศอก” 
  • ๔. ด้านหลังของวิหารนี้ พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้สร้าง ยังได้โปรดให้สร้าง “เสาหิน” สูงประมาณ ๕๐ ศอก หรือ ๒๕ เมตร บนหัวเสาทำเป็นรูปราชสีห์ เสาทั้งสี่ด้าน มีพระพุทธปฏิมา (คงจะเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตสี่พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากุกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมน์ พระพุทธเจ้ากัสสปะ และพระพุทธเจ้าโคตมะ)
  • จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่า สถานที่นี้ มีบุคคลในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คือ “พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาทอดพระเนตรขั้นบันได และสร้าง พระพุทธรูปและวิหาร รวมทั้งสร้างเสาหิน ที่มีรูปราชสีห์อยู่ปลายยอดเสาหิน” 
  • นั่น หมายความว่า สถานที่เรากำลังจะไปค้นหานั้น จะต้อง มี เรื่องราว ร่องรอย อะไร ที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ บ้าง
  • เรื่องราวทั้งหลายคงยังไม่ได้จบลง หรือสรุปได้อย่างง่ายๆ อย่างที่ใจคิด เพราะเรายังต้องศึกษาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และขุดค้น หาหลักฐาน ที่จะมายืนยัน ไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุ จารึก และเอกสารโบราณที่ตกทอดสืบต่อมา เพื่อ รื้อฟื้นเรื่องนี้ นำความจริง "คืนสู่แผ่นดิน"
  • แต่ในเบื้องต้น นี้ ขอตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า “เมืองสังกัสสะ ที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันมหาปวารณาออกพรรษานั้น อยู่ในพื้นที่ เมือง BAGAN หรือ อาณาจักรพุกาม ที่เคยรุ่งเรือง มาในอดีต” นี่เอง ไม่ใช่ ที่ เมือง SANKISSA ที่ ประเทศอินเดีย ดังเหตุผล ที่ยกมาอ้างแล้วข้างต้น
  • แต่ จากภาพที่ฉายมาให้เห็นเบื้องต้น ก็จะเห็นว่า "มีความผิดปรกติในที่ตั้งของ เมืองสังกัสสะ ที่อินเดีย"
  • และ "เรื่องราววันพระเจ้าเปิดโลก และการตักบาตรเทโวโรหณะ หรือการตักบาตร ข้าวต้มลูกโยน ยังคงสืบทอดมาในแผ่นดินไทย และพม่า (มอญ) มาจนถึงทุกวันนี้"
  • และ "ข้ามต้มลูกโยนนี้เอง ที่ เป็นสิ่งเล็กๆ แต่เป็นเบาะแสสำคัญ เพราะ ข้ามต้มลูกโบยทำจาก ข้าวเหนียว ที่มีปลูกได้เฉพาะ แผ่นดิน พม่า ลาว และไทย ไม่มีปลูกที่ อินเดีย คือ ที่อินเดีย ปลูกข้าวเหนียวไม่ได้ และไม่มี "ฟอสซิลข้าวเหนียวในอินเดีย" 55555

Narudsaruk Likitcharoenkron และคนอื่นๆ อีก 30 คนถูกใจสิ่งนี้
ความคิดเห็น
ธนบดี วรุณศรี เมื่อครั้งที่หลวงจีนฟาเหียนจาริกไปยังเมืองสังกัสสะ ได้เห็นและรับรู้ แล้วบันทึกไว้ มีใจความสำคัญว่า...

๑. หลวงจีนฟาเหียนอธิบายว่า บันไดพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ไม่สามามารถมองเห็นได้ (Invisible) ยกเว้น ๗ ขั้น สุดท้าย ซึ่งสามารถมองเห
...ดูเพิ่มเติม
ธนบดี วรุณศรี และ รูปสลักบนเสาอโศก ที่หลวงจีนฟาเหียนได้เห็นก็เป็น รูปสิงห์ ครับ ไม่ใช่รูปช้าง ดังที่ตั้งโชว์อยู่อินเดีย...5555
ธนบดี วรุณศรี ย้ำและย้ำอีก "พระพุทธรูป" มีสร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (และเก่ากว่านั้น ...อ่านตอนหลวงจีนฟาเหียนไปเมืองสาวัตถี)

อย่าให้แขก อย่าให้ฝรั่งหลอกกินตับหลาย..55555

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของชาวไทย

ความเป็นมาของชาวไทย
  • รัฐใหญ่ในครั้งพุทธกาล คือ รัฐมคธเป็นไทยในปัจจุบัน รัฐโกศลคือพม่า (เมียนมาร์ในปัจจุบัน) ท่านพระอาจารย์เล่าว่าพม่าและไทย พระพุทธเจ้าทรงโปรดและตรัสสอนเป็นพิเศษ 
  • สองประเทศนี้จึงมีพระพุทธศาสนาที่มั่นคงมายาวนาน และจะยาวนานต่อไป แต่พม่าเป็นเมืองเศรษฐีอุปถัมภ์ 
  • สมัยเป็นชาวโกศลก็มีคหบดี คือท่านอนาถบิณฑิกะและนางวิสาขาเป็นผู้อุปถัมภ์ แต่ไทยมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พิเศษกว่าพม่า
  • ชาวพม่ามีอุปนิสัยทุกอย่าง โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ เหมือนคนไทย เป็นมิตรคู่รักคู่แค้น จะฆ่ากันก็ไม่ได้ จะรักกันก็ไม่ลง ท่านฯ ว่าอย่างนี้ 
  • สมัยพุทธกาล รัฐมคธมีปัญหาอะไรก็ช่วยกันและกัน บางคราวก็รบกันผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ มาเป็นไทยเป็นพม่าก็รบกัน ประวัติศาสตร์ก็จารึกไว้แล้ว

พุทธภาษา
  • มคธภาษา บาลีภาษา เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาโดยเฉพาะเรียกว่า “พุทธภาษา”
  • เมื่อพระพุทธศาสนานี้หมดลง ภาษานี้ก็จะอันตรธานไปด้วย จนกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาตรัสรู้ ก็ตรัสรู้ด้วยภาษานี้ 
  • มิฉะนั้นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะภาษาชาติต่างๆ ใครๆ ก็พูดได้ เหตุนี้จึงเรียกว่า มคธภาษา เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเผยแพร่ แก่ชนชาวมคธเป็นครั้งแรก
  • ชาวมคธคือใคร ก็คือชาวไทยเรานี้แหละ ดูแต่ภาษาที่เราพูดกันแต่ละคำ ทั้งภาษาสามัญ และภาษาทางการ ล้วนแต่พุทธภาษาทั้งนั้น 
  • ฉะนั้นไม่มีชาติไหนจะพูดเขียนภาษานี้ ได้ถูกต้องที่สุด พร้อมทั้งอักขระฐานกรณ์ ทั้งภาคยางค์ เพราะชาวมคธยอมรับนับถือ นำมาใช้ก่อนจึงเรียกว่า มคธภาษา
  • จำเป็นต้องคงพุทธภาษานี้ไว้ เพราะทรงไว้ซึ่งพุทธวจนะหรือพระไตรปิฎก ถ้าใช้ภาษาของชาติต่างๆ ที่แปลออกมาแล้ว 
  • ผู้ปฏิบัติเห็นแก่ง่าย จะตีความเข้าข้างตนเองมากขึ้น พุทธวจนะก็วิปริตได้ จะแปลเป็นภาษาของชาติไหนๆ แต่พุทธภาษา ก็ยังคงกำกับไว้อยู่ เช่น ภาษาไทยฉบับบาลี หรือชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษ ก็มีบาลีภาษากำกับ
  • ส่วนหนึ่งจาก..."รำลึกวันวาน" หนังสือรวบรวมเกร็ดประวัติ ปกิณกธรรม และ พระธรรมเทศนา แห่งองค์หลวงปู่มั่น

จาก บันทึกความทรงจำ ของ หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
ในสมัยที่ได้อยู่อุปัฏฐาก หลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๙๒
คุณ, Narudsaruk Likitcharoenkron และคนอื่นๆ อีก 75 คนถูกใจสิ่งนี้
ความคิดเห็น
ธนบดี วรุณศรี สำเร็จแล้ว...เพื่อนๆ ผู้ที่สนใจ
จะโหลดไฟล์ หนังสือ เรื่อง "ความลับพระพุทธเจ้า" จาก เว๊บ ebooks ในรูปแบบ
pdf file ไปเก็บไว้อ่าน
...ดูเพิ่มเติม
คำนำ หลังจากที่หนังสือ “ความลับพระพุทธเจ้า” ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่สู่สาธารณชนไปเมื่อปลายเดือน…
EBOOKS.IN.TH
ธนบดี วรุณศรี ผู้เล่า เลยพูดไปว่า
"พระพุทธเจ้า เป็น แขกอินเดีย นะกระผม ”
ท่านฯ ตอบ

“ หือ คนไม่มีตา เขียน , เอา พระพุทธเจ้า ไปเป็นแขกหัวโตได้ ”

ท่านฯ กล่าวต่อไปว่า

“ อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้า เป็นคนไทย

พระอนุพุทธสาวก ในยุคพุทธกาล ตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น
ชนชาติอื่น แม้แต่ สรณคมน์ และ ศีล ๕ เขาก็ไม่รู้
จะเป็น พระพุทธเจ้า ได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามาก ๆ

ท่านยังพูด คำแรง ๆ ว่า
“ คุณ ตาบอด ตาจาว หรือ
เมืองเรา วัดวา ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมือง ไม่เห็นหรือ ”

( ตาบอด ตาจาว เป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะ กับผู้เล่า )

“ แขกอินเดีย เขามีเหมือน เมืองไทยไหม
ไม่มี มีแต่จะทำลาย
โชคดีที่อังกฤษ มาปกครอง เขาออกกฏหมาย ห้ามทำลาย โบราณวัตถุ โบราณสถาน
แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น
อย่าว่าแต่ พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอเองนั้นแหละ
ถ้าได้ไปเห็นสภาพ ความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด ”

ส่วนหนึ่งจาก..."รำลึกวันวาน" หนังสือรวบรวมเกร็ดประวัติ ปกิณกธรรม และ พระธรรมเทศนา แห่งองค์หลวงปู่มั่น
จาก บันทึกความทรงจำ ของ หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
ในสมัยที่ได้อยู่อุปัฏฐาก หลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๙๒